ไม่ต้องห่วง เพราะตอนนี้แบงค์ชาติได้ออก “มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง”
ทางออกสำหรับคนเป็นหนี้บัตรกดเงินสด เพื่อการแก้หนี้อย่างยั่งยืนมาช่วยเหลือแล้ว
มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังที่เพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 นี้ มุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อน โดยพิจารณาความเรื้อรัง และรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้
ลักษณะที่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังในโครงการ มีดังนี้
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด
หนี้ยังไม่เป็นหนี้เสีย
มีการจ่ายดอกเบี้ยรวม เกิน เงินต้นรวม เป็นระยะเวลาหลายปี
ประเภทของลูกหนี้เรื้อรังในโครงการนี้มี 2 กลุ่ม
1. ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาหนี้เรื้อรัง คือ ลูกหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น นานเกิน 3 ปี แต่ไม่ถึง 5 ปี
ลูกหนี้กลุ่มนี้จะได้รับการแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้ โดยลูกหนี้สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ได้ตั้งแต่เริ่มเห็นสัญญาณของการเป็นหนี้เรื้อรัง โดยไม่ต้องรอให้จ่ายไม่ไหว หรือมองไม่เห็นทางปิดจบหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้ให้แนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม
2. ลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง คือ ลูกหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น นานเกิน 5 ปี โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ - กรณีเป็นลูกหนี้กลุ่มธนาคาร ต้องมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท - กรณีเป็นลูกหนี้กลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ต้องมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท
ลูกหนี้กลุ่มนี้ เจ้าหนี้จะทำการแจ้งเตือนผ่านช่องทางที่ปกติใช้สื่อสารข้อมูลกับลูกหนี้ เพื่อให้ข้อเสนอและแนวทางการปิดจบหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ทำการพิจารณาว่าจะสมัครเข้าร่วมมาตรการหรือไม่
ประโยชน์ที่ลูกหนี้เรื้อรังจะได้รับจากการเข้าร่วมมาตรการ คือ
ปิดจบหนี้ได้ ด้วยการผ่อนจ่ายรายงวดสูงสุด 5 ปี
ลดดอกเบี้ย เหลือไม่เกิน 15% ต่อปี
เงื่อนไขผ่อนไหว เหมาะสมกับรายได้
และเมื่อเข้าร่วมมาตรการ ต้องปิดวงเงินสินเชื่อของบัญชีที่เข้าร่วม หรือหยุดสร้างหนี้เพิ่มนั่นเอง!
แต่หากเป็นหนี้เสียแล้วให้เร่งเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้
ที่มาข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูล