top of page

7 วิธีทำตามนี้! การเงินดี ไม่ตกเป็นทาสของเงิน


การใช้เงินอย่างชาญฉลาด และไม่ตกเป็นทาสของเงินเป็นทักษะสำคัญในการดำเนินชีวิต โนบูโรขอแชร์เทคนิคที่จะช่วยให้ทุกคนจัดการการเงินที่ทำได้ไม่ยาก กับ 7 วิธีตามนี้!


1. วางแผนการใช้จ่าย

การวางแผนการใช้จ่ายเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการการเงินที่ดี ซึ่งหลายๆคนมักมองข้าม ซึ่งจัดทำงบประมาณรายเดือน จะช่วยแยกค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าเช่า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง รวมถึงการจ่ายหนี้สินต่างๆ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าเพื่อความบันเทิง ค่าหวย เป็นต้น


ควรติดตามรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ใช้แอพพลิเคชั่น หรือ สมุดบันทึกเพื่อจดบันทึกทุกรายการ และปรับปรุงแผนทุกเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา


2. ใช้เงินด้วยหลัก 50/30/20

หลักการการเงินด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้คุณจัดสรรรายได้อย่างดีขึ้น แบ่งรายรับ 50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น: รวมถึงที่อยู่อาศัย อาหาร ค่าสาธารณูปโภค การเดินทาง และประกันภัยต่างๆ แบ่งออกมาอีก 30% สำหรับความต้องการ ครอบคลุมความบันเทิง งานอดิเรก การท่องเที่ยว และการซื้อของที่อยากได้ และอีก 20% สำหรับการออมและการลงทุน รวมถึงเงินออมฉุกเฉิน การลงทุนระยะยาว


ส่วนการชำระหนี้ควรปรับสัดส่วนให้เหมาะกับสถานการณ์การเงินของคุณ ใช้หนี้ให้เรียบแล้วค่อยจัดสรรการเงินที่เหลืออยู่ ซึ่งหลักการนี้ควรปรับให้เหมาะสมกับตนเอง ลดบางส่วนเพื่อการเงินที่ดีขึ้ันนั่นเอง


3. สร้างนิสัยการออม

การออมเป็นกุญแจสำคัญสู่อิสรภาพทางการเงิน ควรเริ่มออมตั้งแต่วันนี้ แม้จะเป็นจำนวนเล็กน้อย การเริ่มต้นคือก้าวสำคัญ เริ่มตั้งเป้าหมายการออมที่ชัดเจน เช่น ออมเงินฉุกเฉิน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน


ท่องไว้เสมอว่า "จ่ายตัวเองก่อน" หักเงินออมทันทีที่ได้รับเงินเดือน ก่อนที่จะใช้จ่ายอย่างอื่น หรือ ใช้เทคโนโลยีช่วยออม ตั้งค่าการโอนเงินอัตโนมัติไปยังบัญชีออมทรัพย์ทุกเดือนยิ่งดี


4. ลงทุนเพื่ออนาคต

การลงทุนช่วยให้เงินของคุณงอกเงยในระยะยาว ต้องศึกษาการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ รู้จักกระจายความเสี่ยง ไม่ควรลงทุนทั้งหมดในที่เดียว แบ่งการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เริ่มต้นด้วยการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุนดัชนี


ที่สำคัญต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ใช้วิธีการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar-Cost Averaging) ศึกษาและติดตามการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รู้จักอ่านบทวิเคราะห์ ข่าวสารทางการเงิน และปรับพอร์ตการลงทุนตามความเหมาะสม


5. หยุดสร้างหนี้ "ที่ไม่จำเป็น"

ควรใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง ควรจ่ายหนี้บัตรเต็มจำนวนทุกเดือนเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยสูง และต้องแยกแยะระหว่างหนี้ดีและหนี้เสียได้ ยกตัวอย่างเช่น หนี้ดี เช่น สินเชื่อบ้าน หรือการลงทุนในการศึกษา สามารถสร้างมูลค่าในระยะยาว เป็นต้น


หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยด้วยเงินกู้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าลดลงอย่างรวดเร็ว และควรวางแผนปลดหนี้อย่างเป็นระบบ รีบปิดจบหนี้ดอกเบี้ยแพง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องการเงินให้ไว้ขึ้น


6. มองหารายได้เพิ่ม

เพราะการเพิ่มรายได้ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงสถานะทางการเงินให้ดีขึ้น ควรพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มมูลค่าในงานหลัก และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งหรือขึ้นเงินเดือน หรือ มองหารายได้เสริม เช่น งานพาร์ทไทม์ ฟรีแลนซ์ หรือเริ่มธุรกิจเล็กๆ ที่สอดคล้องกับความสนใจและทักษะของตัวเอง


นอกจากนี้ ลองมองโอกาสรอบตัวใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่มี เช่น การให้เช่าห้องว่าง หรือขายของที่ไม่ได้ใช้ ขับรถขนส่งในเวลาว่างได้เช่นกัน


7. หาความรู้ทางการเงินให้ตัวเอง

การศึกษาด้านการเงินอย่างต่อเนื่อง เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จทางการเงินในระยะยาว เช่น อ่านหนังสือ บทความ หรือเข้าร่วมสัมมนาด้านการเงิน เริ่มจากหนังสือพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการการเงินส่วนบุคคล หรือ ติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจ เพื่อเข้าใจแนวโน้มตลาดและโอกาสในการลงทุน


ลองเริ่มจากติดตามบล็อก พอดแคสต์ หรือช่อง YouTube ของนักการเงินที่มีชื่อเสียง และค่อยๆเริ่มลงมือทำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อการเงินของเราดีขึ้นและไม่ตกเป้นทาสของเงินนั่นเอง


"การใช้เงินเป็น ไม่ได้หมายถึงว่า ต้องประหยัด"


แต่...เป็นการใช้เงินอย่างฉลาด รู้คุณค่า และมีเป้าหมาย การปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมการเงินของตัวเองได้ดีขึ้น สร้างความมั่นคงทางการเงิน และไม่ตกเป็นทาสของเงินในระยะยาว


ที่สำคัญจงจำไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงินต้องใช้เวลา และความอดทน ดังนั้น ให้เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย และค่อยๆ สร้างนิสัยทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

Comments


bottom of page